Home Homeroom รวมมาให้ครบ! คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์มีอะไรน่าสนใจต้องมาดู

รวมมาให้ครบ! คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์มีอะไรน่าสนใจต้องมาดู

by author

รวมมาให้ครบ! คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์มีอะไรน่าสนใจต้องมาดู

SoDA SPU มี 3 สาขา ที่บอกเลยว่าน่าเรียนสุดๆ แถมได้ทักษะที่แตกต่างทำให้เราเป็นสถาปนิกที่ไม่เหมือนใคร อยากรู้ว่าแต่ละสาขาเรียนเกี่ยวกับอะไร จบไปทำงานแบบไหน และระหว่างเรียนได้อะไรจาก SPU ทำไมรุ่นพี่ที่เรียนจบไปผลงานถึงมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และไม่เหมือนใครที่ไหน ต้องมาหาคำตอบจากคอลัมน์นี้เลย!

ดร.ณัฐฐา สววิบูลย์

หัวหน้าสาขาวิชาการออกแบบภายใน คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม  

ข้อมูลการศึกษา

  • สถาปัตยกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สหวิทยาการการวิจัยเพื่อการออกแบบ) 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

  • Occasional Studies Program, School of Psychology, Environmental Psychology Research Group (EPRG), Faculty of Health and Medical Sciences, University of Surrey, UK    
  • สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สถาปัตยกรรมภายใน) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถาปัตยกรรมภายใน) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการงานก่อสร้าง) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ความเชี่ยวชาญ

  • เชี่ยวชาญในวิชาชีพด้านงานด้านการออกแบบภายใน 
  • การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ และการออกแบบนิทรรศการ 
  • จิตวิทยาสภาพแวดล้อม (Environmental Psychology)
  • การออกแบบโดยมีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-centered Design)
  • แนวทางการออกแบบเพื่อคนทุกคน (Universal Design) 

สาขาวิชาการออกแบบภายใน

เรียนเกี่ยวกับอะไร : การปูพื้นฐานด้านศิลปะและการออกแบบทัศนศิลป์ และพื้นฐานการออกแบบภายใน โดยให้ออกแบบพื้นที่ขนาดเล็กๆ ในช่วงปีแรกๆ ไปจนถึงการออกแบบภายในอาคารสาธารณะที่มีขนาดใหญ่ เรียนแบบ Active Learning และ Area-based Education ได้ทดลองทำงานจริงกันตั้งแต่ยังเรียน จากโจทย์งานที่เหมาะกับโลกของเด็ก GEN ใหม่ หรือเป็นโจทย์งานจริงจากบริษัทชั้นนำ แล้วมาค้นพบตัวเองได้เต็มที่ กับการนำเสนอแนวคิดอย่างสร้างสรรค์ผ่านกระบวนการความคิดและลงมือทำผลงาน ที่ไม่ใช่แค่ออกแบบได้สวยแต่ยังตอบโจทย์การใช้งานจริงอีกด้วย รู้ครบจบที่เดียว เพราะได้เรียนออกแบบควบคู่กับการเรียนเกี่ยวกับวัสดุตกแต่ง งานโครงสร้าง และงานระบบ งานเฟอร์นิเจอร์ เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบและการนำเสนองานอย่างมืออาชีพ รวมถึงกิจกรรมเสริมหลักสูตร เช่น การไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ การทำ Workshop กับมหาวิทยาลัยภายในและต่างประเทศ อย่างมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น ที่ SPU ได้จัดต่อเนื่องทุกปี เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างวัฒนธรรม และมีการจัดสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นการออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการภาคการศึกษาสุดท้าย สร้างโอกาสในการได้งานทำทันที หลังจากที่จบหลักสูตร เรียกว่าอยากเป็นมือโปรต้องเริ่มต้นที่ SPU เท่านั้น

การเรียนข้ามศาสตร์ : หลักสูตรนี้เปิดโอกาสให้เลือกเรียนรายวิชานอกคณะได้ตามความสนใจ ทำให้ได้ทักษะที่หลากหลาย เรียนจบไปเป็นตัวเราที่ไม่ซ้ำใครแน่นอน

จบไปทำงานด้านไหน : 

  • นักออกแบบภายใน สามารถสอบใบประกอบวิชาชีพสถาปนิกได้  
  • งานออกแบบสร้างสรรค์และการก่อสร้างในด้านอื่นๆ เช่น Graphic Designer, 3D Visualizer, Furniture Designer,  Prop Designer, งานเกี่ยวกับวัสดุ (materials), Prop Designer, นักออกแบบงานนิทรรศการและงานอีเว้นท์,  ผู้ควบคุมหรือบริหารโครงการก่อสร้างตกแต่งภายใน, Design Consultant 
  • ผู้ประกอบการ หรือ ทำงานอิสระ

เหมาะกับ DEK

  • เด็กรักในงานศิลปะ และสถาปัตยกรรม 
  • มีความคิดสร้างสรรค์และมีจินตนาการ  กล้าคิด กล้าแสดงออก 
  • ช่างสังเกตกับสิ่งรอบตัว  หรือเป็นคนที่ชอบทดลองทำสิ่งใหม่ๆ ชอบทำอะไรไม่จำเจ 
  • ไม่ต้องวาดรูปเก่งมาก่อน แค่เปิดใจเรียนรู้ ทุกอย่างฝึกฝนกันได้ที่ SPU

ผศ.กนกวรรณ อุสันโน

หัวหน้าสาขาสถาปัตยกรรม คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม  

 ข้อมูลการศึกษา

  • สถ.ม. (สถาปัตยกรรม, เทคโนโลยีอาคาร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
  • สถ.บ. (สถาปัตยกรรม) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง, 2536

ความเชี่ยวชาญ

  • การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
  • การใช้พลังงานทดแทนในงานสถาปัตยกรรม
  • เทคโนโลยีอาคารและการก่อสร้าง
  • Universal Design

สาขาสถาปัตยกรรม

เรียนเกี่ยวกับอะไร : เราเน้นสร้างสถาปนิกให้มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ควบคู่กับการลงมือปฏิบัติ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญของพลเมืองในอนาคต และเป็นอาชีพที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาเมือง นอกจากอาชีพสถาปนิกแล้ว ยังสามารถนำทักษะการคิดที่เรียนไปใช้ในการทำงานหรือสร้างธุรกิจของตนเองให้มีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ ตัวอย่างวิชาเรียนที่น่าสนใจคือ วิชาการออกแบบสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นวิชาหลักของสาขาที่จะให้ผู้เรียนได้ทดลองออกแบบอาคารประเภทต่างๆ ตั้งแต่อาคารขนาดเล็ก อาคารสูงไปจนถึงอาคารที่อาจไม่มีอยู่จริง แต่ฝึกให้ได้พัฒนาแนวคิดไปตามแนวทางที่ผู้เรียนสนใจ หรือวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ เป็นวิชาที่เรียนรู้การสร้างโมเดลภาพเสมือนสามมิติเพื่อจำลองและนำเสนอความเห็นของตนให้เห็นเป็นรูปธรรม รวมถึงหลักสูตรที่ได้พัฒนาขึ้นใหม่ ที่สามารถนำความรู้ทางสถาปัตย์ไปสร้างธุรกิจ เป็นผู้ประกอบการที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง

จบไปทำงานด้านไหน : 

  • สถาปนิก ที่สามารถสอบขอใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม ซึ่งผู้อื่นไม่สามารถทำงานแทนได้
  • นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
  • ครีเอทีฟ นักออกแบบ นักสร้างคอนเทนต์

เหมาะกับ DEK

  • ชอบใช้สมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาอย่างสมดุล 
  • สนใจงานศิลปะ มีสุนทรียภาพ ไม่จำเป็นต้องวาดรูปเก่ง
  • ชอบออกแบบ ทำงานสร้างสรรค์ และมีรสนิยมในการใช้ชีวิต
  • สนใจวิถีชีวิตผู้คน ช่างสังเกต ชอบออกไปเรียนรู้
  • เป็นผู้มีตรรกะทางความคิด สนใจเทคโนโลยี ขณะเดียวกันก็สนใจความเป็นอยู่ของมนุษย์ 

ธีรบูลย์ พิศาลอภิพงศ์

คณบดีคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม  

ข้อมูลการศึกษา

  • M.Arch, Honors (Architecture) (Awarded in Deserving Recognition of Exemplary Academic and Creative Achievement Amid the Master of Architecture Candidates) University of Florida, U.S.A., 2541
  • สถ.บ. (สถาปัตยกรรมศาสตร์) เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2534

ความเชี่ยวชาญ

  • Design Theory
  • Architectural Diagram Interpretation
  • Acoustical Design
  • Architectural Program Analysis for Investment
  • Architectural Project management

“เป็นโอกาสในชีวิตครับ สำหรับการที่เข้ามาเรียนสาขานี้ เพราะสอนกันแบบครบทุกมิติที่จะพาคุณไปยืนรอในตำแหน่งอนาคตของประเทศและโลก จังหวะนี้เป็นจังหวะที่ดีมากๆ เพราะโลกกำลังเปลี่ยนและต้องการคนที่มีกระบวนคิดแบบใหม่ SPU จึงสร้างคนที่ “คิดเป็น” ก่อน แล้วเครื่องมือมันจะเป็นดิจิทัล หรือเป็นเครื่องมืออื่นๆ เราก็ปรับต่อได้ โดดเข้ามาเรียนกับเรา พร้อมเป็นคนใหม่ สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วใบนี้ด้วยกันนะครับ”

สาขานวัตกรรมการออกแบบ

เรียนเกี่ยวกับอะไร : สาขาน้องใหม่ที่ “ตอบโจทย์อาชีพแห่งอนาคต” และเป็นที่ต้องการตัวของทุกองค์กร สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของเด็กรุ่นใหม่ที่รักการทำงานอิสระ ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่แตกต่าง ท้าทาย ไม่จำเจ พลิกเกมของธุรกิจได้ หรือใครที่อยากสร้างธุรกิจของตนเองเพราะไม่ชอบการทำงานประจำ โดยสาขานี้เน้นสอนเรื่องนวัตกรรมการออกแบบ THINGS ที่ประกอบด้วย Product Process Service and Business Model ที่ไม่มีที่ไหนสอนครอบคลุม THINGS ทั้ง 4 ด้านนี้ หลักสูตรออกแบบโดยอาจารย์และนักออกแบบที่ผ่าน Media Lab จาก MIT เจ้าของและนักออกแบบ UX/UI ที่อยู่ในธุรกิจระดับ International เรียนจบใน 3 ปีครึ่ง เพื่อพบโอกาสใหม่ได้เร็วกว่า การเรียนไม่น่าเบื่อเพราะเน้นลงมือปฏิบัติ แบบ Workshop ร่วมกับภาคธุรกิจ เน้นการคิด การออกแบบ ผ่านการลงมือทำ จนได้ผลลัพธ์การเรียนรู้แบบ SLO (Semester Learning Outcomes) ผ่านวิชา Studio ที่รู้ว่าได้ทำอะไรในทุกเทอม วิชาน่าสนใจ ในสาขานี้ได้แก่ User Experience Design/ Service Design/ Design Thinking/ UX UI Design/ Visual Thinking/ Creative and Critical Thinking/ Money Game/ Innovation Research และมีอีกมากมายที่น่าสนใจ ซึ่งมาจาก 4 แขนงความรู้หลัก ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบ ความเข้าใจมนุษย์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การเป็นเจ้าของธุรกิจ ที่ทุกบริษัทซึ่งอยู่รอดในอนาคตจะต้องการคนที่มีทักษะเหล่านี้

การเรียนข้ามศาสตร์ : หลักสูตรนี้เปิดโอกาสให้เลือกเรียนรายวิชานอกคณะได้ตามความสนใจ ทำให้ได้ทักษะที่หลากหลาย ถึง 15 หน่วยกิต 5 รายวิชา จาก 4 วิทยาลัย และ 11 คณะ ในมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ทำให้เราออกแบบความรู้ อาชีพตัวเองได้

จบไปทำงานด้านไหน : 

  • “แทบทุกองค์กร ที่ต้องการตัวคุณ” เพราะอนาคตกำลังจะขาดแคลนคนที่มีทักษะแบบนี้ บริษัทต้องการคนที่ “คิดเป็น” คิดอย่างมีระบบและมีความเข้าใจ ในกระบวนการคิดและสร้าง Innovation หรือที่เรียกว่า “นวัตกร” (Innovator) หรืออาชีพคูลๆ แบบ Intrapreneur, Creative Designer, Planner, UX UI Designer, Career Designer, Entrepreneur เพราะในอนาคตทุกบริษัทจะต้องมีนวัตกรผู้สร้างความเปลี่ยนแปลง เพื่อพุ่งไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง

เหมาะกับ DEK

  • นักเรียนสายวิทย์ และศิลป์ สายอาร์ต สาย Tech สายธุรกิจ
  • สนใจด้านนวัตกรรม และงานออกแบบ 
  • ชอบคิดค้นอะไรใหม่ๆ ชอบแก้ปัญหา 
  • ต้องการทำงานอิสระที่สามารถให้อิสรภาพกับชีวิตได้ 
  • อยากสร้างนวัตกรรมที่เราเป็นเจ้าของด้วยตัวเอง

You may also like

Leave a Comment