โครงการ “ตลาดพลู หามรุ่ง หามค่ำ”

โครงการนี้ต้องการสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดพลูกลายเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าที่สำคัญ มีคนจากท้องถิ่นต่าง ๆ นำสินค้าเข้ามาแลกเปลี่ยนระหว่างกัน คนหลากหลายชาติพันธุ์เข้ามาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่มากขึ้น ทำให้ตลาดพลูเป็นแหล่งรวมกันของ วัฒนธรรมที่หลากหลาย ทั้งไทย จีน มอญ มุสลิม ตลอดจนมีโบราณสถาน และศาสนสถานสำคัญจำนวนมาก เมื่อ 100 ปีก่อนคนจีนหนีความยากจน เสื่อผืนหมอนใบ มาเมืองไทย เป็นกุลีแบกข้าวสาร ลากรถ ขายน้ำเต้าหู้ ใครเห็นคนสวม “หมวกกุ้ยเล้ย” ก็รู้เลยว่าเป็นคนจีน เดิมทีคนจีนเรียกว่า โก่ยโล้ย คนไทยเรียกว่า “หมวกเจ๊ก” มีลักษณะทรงกลม หัวแหลม นิยมใส่กันแดด เวลาออกไปทำนา ทำไร่ ทำสวน  ของชาวจีนหรือชาวไทยเชื้อสายจีน  หมวกนี้แสดงถึงสัญญะแห่งชีวิต จิตวิญญาณที่เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ ” โรงสีง่วนไถ่ ” ตลาดพลู  จึงก่อให้เกิดผลงานศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรม “หามรุ่ง I หามค่ำ” ที่ใช้หมวกนี้เป็นสัญญะในการบอกเล่าเรื่องเล่าผ่านศิลปะการจัดวาง และการออกแบบแสง สี แสง จึงสมควรที่หยิบยกมาเป็นเอกลักษณ์สำคัญในย่านตลาดพลู และมีศักยภาพในการสะท้อนบอกเล่าเรื่องราวผ่านศิลปะการออกแบบเชิงวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี

ผลงานสร้างสรรค์ ตลาดพลู

The university organized the Bangkok Design Festival project in the Talat Phlu-Wongwian Yai area 2023, opening the old mill area which is the last mill building in the Talat Phlu area. Converted into an exhibition space and creative activity space, including holding a lion head making workshop and opening the area of the Phra Phloeng Chao Pho Shrine. It is an exhibition and recreation area.