mobile full hd porno videos ecommerce nulled scripts free nulled responsive theme
Faculty คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

Cyber Security อาชีพวิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Cyber Security หรืออาชีพวิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ จะทำหน้าที่ตรวจจับ วิเคราะห์ และค้นหาการโจมตีทาง Cyber หรือแหล่งข้อมูล โดยทำการเฝ้าระวังทั้งจากภายในและภายนอก และแจ้งเหตุเมื่อมีภัยคุกคาม นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ในการตรวจสอบระบบสารสนเทศของการเฝ้าระวังด้านความมั่นคง Cyber ให้มีประสิทธิภาพและมีความพร้อมต่อการให้บริการอีกด้วย เรียกง่ายๆ ก็คือเป็นอาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยของระบบ Network นั่นเอง

 

 

งานของ Cyber Security จะเกี่ยวกับการป้องกันและดูแลความปลอดภัยด้าน Cyber ของระบบ
โดยสามารถแยกย่อยได้ตั้งแต่ระดับปฏิบัติการ จนไปถึงระดับผู้บริการความมั่นคงปลอดภัย หรือในแง่ของที่ปรึกษา Cyber Security Consultant โดยจะมีการทำงานร่วมกับลูกค้าเพื่อคิดค้นกลยุทธ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

 

โดยงาน Cyber Security จะแบ่งออกเป็นสายงานหลักๆ ได้ดังนี้
>Security Architect ผู้ทำหน้าที่ออกแบบ พัฒนา และสร้างระบบการป้องกันให้แก่องค์กร จากบรรดาแฮ็คเกอร์ มัลแวร์ที่จะมาเจาะข้อมูลหลังบ้าน
>Security Consultant ผู้เชี่ยวชาญรอบรู้ด้าน Cyber Security รอบด้าน ที่จะคอยช่วยแนะนำแนวทางการแก้ปัญหา การประเมินความเสี่ยง และเป็นที่ปรึกษาหาทางออกที่ช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้ดีที่สุด
>Penetration Tester / Ethical Hacker เป็นผู้ที่ทำหน้าที่ทดสอบระบบรักษาความปลอดภัย มองหาจุดอ่อนในระบบและแอปพลิเคชันต่างๆ ด้วยการใช้เทคนิคการเจาะระบบหลากหลายรูปแบบ เสมือนแฮ็คเกอร์จริงๆ เพื่อหาจุดบกพร่องที่สมควรได้รับการแก้ไขหรือเสริมการป้องกัน และนำไปรายงานกับองค์กร
>Chief Information Security Officer (CISO) ระดับ Senior หรือหัวหน้าที่เป็นผู้นำทีม คอยคววบคุมดูแลทีมให้เดินไปยังจุดหมายที่ต้องการ ประสานงานกับทุกฝ่าย และรายงานผลต่างๆ แก่องค์กร

 

 

ทักษะที่ควรมีของ Cyber Security
>ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และโปรแกรม เพราะเป็นพื้นฐานความรู้สำหรับคนในสายงานนี้
>ทักษะด้านการวิเคราะห์ มองหาจุดบอด ช่องโหว่ ข้อผิดพลาดของระบบ
>ทักษะด้านการสื่อสาร การต่อรองเจรจา การอธิบายให้ผู้อื่นสามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้
>ทักษะการบริหารจัดการ ทั้งเรื่องเวลาและการลำดับความสำคัญต่าง ๆ
>ทักษะการค้นหาข้อมูล เพื่อเติมเต็มและหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ ในปัจจุบันสามารถหาข้อมูลออนไลน์ผ่านสื่อต่าง ๆ ได้มากมาย ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรฝึกไว้เช่นกัน
>ทักษะความเป็นผู้นำและการทำงานเป็นทีม เป็นทักษะจำเป็นในการทำงานแทบในทุกวิชาชีพ ที่จะช่วยให้เราสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

คุณสมบัติที่ขาดไม่ได้ของ Cyber Security
>สามารถรับแรงกดดันสูงได้ เนื่องจากต้องสามารถวิเคราะห์และประเมินจุดที่อาจจะเป็นช่องโหว่ขององค์กรร่วมกับหน่วยงานด้านความมั่นคงปลอดภัยอื่นๆ ได้ รวมไปถึงต้องสามารถตรวจจับการโจมตีและแจ้งฝ่ายบริหารได้อย่างรวดเร็ว
>มีความกระตือรือร้น มีแรงขับให้ต้องพัฒนาตนเองและศึกษาเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ตามให้ทันโลกและเทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง
>คิดเร็วทำเร็ว กระฉับกระเฉง และใจกว้าง
>มีความคิดริเริ่ม และความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

 

งานด้าน Cyber Security ถือเป็นสายงานที่เป็นที่ต้องการและได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ยังขาดแรงงานที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ทางด้านนี้ ทั้งในและต่างประเทศ

>Cyber Security Engineer (Officer) รายได้ประมาณ 16,000 – 22,000 บาท
>Cyber Security Analyst (ประสบการณ์ 2-3 ปี) รายได้ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท
>Cyber Security Manager / Security Expert Consultant (ประสบการณ์ 4-7 ปี)
รายได้ประมาณ 50,000 – 70,000 บาท
>Chief Information Security Officer รายได้ประมาณ 200,000 – 300,000 บาท

 

 

การทำงานอาชีพนี้สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งจากสายอาชีพที่ไม่เกี่ยวข้องเลย หรือเริ่มจากอาชีพสาย IT โดยพื้นฐานอาชีพนี้จะต้องมีความรู้พื้นฐานด้าน IT ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถต่อยอดการเรียนที่เจาะลึกขึ้นเพื่อเป็น Cyber Security ได้

แต่ไม่ว่าจะเรียนจบสายไหน สาขาอะไรมา ก็สามารถเป็น DEK IT ได้!
ที่คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ!
สามารถอ่านหลักสูตรได้เลยที่นี่ www.spu.ac.th/fac/informatics
บอกเลยว่าคณะนี้ มีทุนและส่วนลดให้เพียบ!!

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก www.trueplookpanya.com/

 

(Visited 3,571 times, 1 visits today)

Related posts

เส้นทางอาชีพสาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ ดิจิทัลมีเดีย SPU

P'Lilly SPU

10 Skills ที่สายงานโลจิสติกส์ต้องมี

P'Menu SPU

#DEK67 ต้องรู้ TPAT สอบอะไรบ้าง? เตรียมความพร้อมก่อนใคร พิชิตคณะที่ใช่ก่อนเลย

P'Krish

DEK 63 ต้องรู้ วิศวกรรมระบบราง SPU เรียนอะไร?

P'Menu SPU

มัดรวมข้อดี EBC @SPU

P'Menu SPU

รวม 3 ศาสตร์ สร้าง Content Creator มืออาชีพ ตอบโจทย์ทุก Platform

P'Krish

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสบการณ์และความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ และ นโยบายคุกกี้

ยอมรับ อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล